ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ใหม่ของเทศบาลตำบลเจดีย์หลวง                               พระธาตุเจดีย์หลวงเด่นสง่า งามล้ำค่าพระเจ้าทองคำ แหล่งเกษตรกรรมลำไยหวาน สืบสานประเพณีแห่ต้นเกี๊ยะ                               เทศบาลตำบลเจดีย์หลวงขอเชิญร่วมตอบแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจต่อการให้บริการประชาชน เทศบาลตำบลเจดีย์หลวง
 ข้อมูลเทศบาล

นายแจ๊ก ธิสงค์

นายกเทศมนตรีตำบลเจดีย์หลวง
โทร.081-8816992

msgสายตรงนายก

นางสาวสรวีย์ คำฟู - ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม รักษาราชการแทนปลัดเทศบาลตำบลเจดีย์หลวง <br>โทร  083-8672227

นางสาวสรวีย์ คำฟู

ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม รักษาราชการแทนปลัดเทศบาลตำบลเจดีย์หลวง
โทร 083-8672227


hornข่าวกิจกรรม

การเตรียมความพร้อมสู่อาเซียน

  • 5 มิถุนายน 2558
  • อ่าน 132 ครั้ง

การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน (AEC)

 

ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) คือการให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) เนื่องจากการแข่งขันรุนแรง เช่น อัตราการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของจีนและอินเดียสูงมากในช่วงที่ผ่านมา  ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ที่ชะอำ หัวหิน เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2552 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ค.ศ. 2009-2015) เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558ดังนั้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นอีกองค์กรหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการร่วมกันพัฒนาและขับเคลื่อนกระบวนการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในอนาคต จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมและทำความเข้าใจ ในการรับมือกับสถานการณ์ทีกำลังเปลี่ยนแปลงภายในอาเซียน ทั้งด้านการเมือง ความมั่นคงภายในประเทศและอาเซียน ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและเศรษฐกิจ เพื่อการรวมตัวไปในทิศทางเดียวกันของอาเซียนกที่กำลังจะเกิดขึ้น

 

.ดรจีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ บรรยายพิเศษ ให้กับ กลุ่ม อบต. อบจ. เทศบาล และบุคลากรของกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น ในโครงการติดอาวุธทางการค้าแก่ ผู้บริหารกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น เรื่อง “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รอบรู้ AEC”

 

การเตรียมความพร้อม 10 ประเด็นที่ต้องรู้จริง..เพื่อก้าวไปกับอาเซียนเสรี (AEC)

 

1.ประเทศในอาเซียนมี 10 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า การรวมตัวอาเซียนเริ่มที่ประเทศไทย.. เป็นผู้ริเริ่ม

 

2.จุดเริ่มต้นของอาเซียน

 

เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510  รมว.กต. อินโดนีเซีย (นายอาดัม มาลิก) มาเลเซีย (ตุน อับดุล ราซัก บิน ฮุสเซน) ฟิลิปปินส์ (นายนาซิโซ รามอส) สิงคโปร์ (นายเอส ราชารัตนัม) และไทย (พันเอก ถนัด คอมันตร์ ลงนาม ใน ปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) ข้อตกลงร่วมมือกัน 3 สาขาใหญ่ 1.เศรษฐกิจ และการค้า การลงทุน 2.สังคมและวัฒนธรรม 3.ความมั่นคงทางการเมือง และสำคัญที่สุดจะเชื่อมโยงทั้ง 3 เรื่องเข้าด้วยกัน เรียกว่า “ASEAN Connectivity” เชื่อมโยงเข้าหากัน

 

3. ในวันนี้อยากให้ผู้นำสนใจเรื่องเศรษฐกิจมากหน่อยแต่ก็ไม่ละเลยเรื่องภูมิปัญญา หรือวัฒนธรรมของเรา

 

3.1.เสรี แปลว่า สินค้าและบริการที่ตกลงกันแล้ว จะไม่มีการกีดกัน ประเทศใดเก่งก็สามารถไปขายสินค้าหรือบริการในประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มอาเซียนได้โดยไม่มีภาษีศุลกากร

 

3.2.แต่ขณะเดียวกัน.. ถ้าประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนเก่งกว่าประเทศไทย เขาก็เข้ามาแข่งกับประเทศเราได้   ถ้าท้องถิ่นอ่อนแอ.. ธุรกิจบางอย่างก็จะหายไป

 

นอกจากนั้น.. ยังเปิดเสรีเรื่องการลงทุน  เช่น ประเทศใดมีความสามารถในการระดมทุนการเงินมากกว่าประเทศอื่น ก็เข้าไปลงทุนในประเทศเหล่านั้นได้ เช่น ถ้าสิงคโปร์มีทุนมากกว่าก็สามารถนำเงินมาลงทุนในประเทศไทยได้ ยิ่งไปกว่านั้นยังเปิดโอกาสให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามประเทศอาเซียนด้วย เช่น ถ้าคนไทยเก่งก็สามารถไปทำงานในอาเซียนได้ และคนมาเลเซีย ก็อาจจะมาทำงานแข่งกับคนไทยได้ คนไทยก็อาจจะตกงานได้ หากไม่พัฒนาทุนมนุษย์

 

4. นอกจาก อาเซียนแล้วควรจะเข้าใน ..อาเซียน+6 มีอะไรบ้าง?

 

ซึ่งหมายความว่า ประเทศสำคัญ ๆ ในโลกยังให้ความสนใจที่จะทำงานกับประเทศในอาเซียน Brunei  Indonesia  Malaysia Philippines  Singapore Thailand  MyanmarCambodia  Laos Vietnam China Japan South Korea India  Australia  New Zealand สิ่งที่สำคัญที่สุดในวันนี้ ก็คือ ค้นหาตัวเองให้ได้ตามแนวทางดังนี้

 

4.1.ต้องคิด วิเคราะห์ว่าอะไรเกิดขึ้น เตรียมพร้อม และสำคัญที่สุดจะฉกฉวยโอกาส และหลีกเลี่ยงการคุกคามอย่างไร?

 

4.2.ก่อนที่จะมีอาเซียนเสรี ก็มีการเปิดประเทศที่กำหนดโดยองค์การการค้าระหว่างประเทศ (WTO) หรือการเซ็นสัญญาเปิดเขตการค้าเสรีเฉพาะ (FTA) เช่น ไทย อินเดีย, ไทย จีน มาแล้ว ซึ่ง ในอดีตจุดอ่อน ก็คือ รัฐบาลยังไม่ได้ให้ข้อมูลที่สมบูรณ์ ทำให้ประชาชนชาวไทยโดยเฉพาะผู้นำท้องถิ่นบางกลุ่มได้ บางกลุ่มเสีย เช่น ผู้ส่งออกได้ แรงงานมีคุณภาพได้เพราะมีทักษะ และภาษาดีกว่า มีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ธุรกิจเล็ก เช่น โชห่วย ต้องปิดตัวไป.. วันนี้จึงเป็นจุดที่สำคัญที่ได้มาแบ่งปันความรู้กัน

 

5. ผู้นำท้องถิ่นในวันนี้ ต้องมีการปรับตัวเพื่อเตรียมความพร้อม

 

5.1.สิ่งแรกก็คือ เข้าใจ ศึกษาให้ถ่องแท้

 

5.2.โอกาสที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง อยู่ที่ว่าผู้นำจะฉกฉวยอย่างไร?

 

5.2.1.โอกาสแรก คือ เรื่องการขยายของตลาด เฉพาะอาเซียน อย่างเดียวก็เพิ่มประชากร/ผู้บริโภคเพิ่มจาก 64 ล้านคน เป็น 500 ล้านคน.. ถ้านับอาเซียน+6 ก็มีผู้บริโภคเพิ่มขึ้นหลายพันล้านคน

 

5.2.2.การปรับตัวที่สำคัญที่สุด ก็คือ เรื่องทัศนคติ คือ ประเทศไทยจะไม่เหมือนเดิม จะเป็นประเทศที่ต้องอยู่ร่วมกับประเทศอื่น ๆ อีก รวม 10 ประเทศ ผู้นำท้องถิ่นไม่ใช่แค่ผู้นำของอำเภอหรือตำบล ในประเทศไทยอีกต่อไป จะต้องเป็นผู้นำในชุมชนเดียว (One Community) คือ ชุมชนอาเซียน

 

6. รักษาภูมิปัญญาและรากเหง้าหรือความเป็นตัวตนของท้องถิ่นไทย

 

 แต่ที่สำคัญที่สุด ถึงเราจะเป็นชุมชนอาเซียน แต่เราก็ต้องคงไว้ที่ภูมิปัญญาและรากเหง้าความเป็นตัวตนของท้องถิ่นไทย ของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งในอนาคตก็จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น หากมีบริหารจัดการที่ดี

 

7. ต้องพัฒนา คนไทยให้ สื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียนได้

 

7.1.ถึงเวลาแล้วที่ท้องถิ่นต้องพร้อมมากขึ้นในเรื่องภาษา ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน และยิ่งไปกว่านั้นภาษาคอมพิวเตอร์ ที่จะคุยแลกเปลี่ยนกับชาวอาเซียนด้วยกัน

 

7.2.ต้องสนับสนุนให้โรงเรียนภายใต้การดูแลของ อบจ. / เทศบาล และอบต. สนใจการพัฒนาภาษาต่างประเทศ ทั้งอังกฤษ และ ภาษาอื่น ๆ เพื่อสร้างทุนมนุษย์ของประเทศไทยให้มีความสามารถเรื่องภาษาให้ได้โดยเร็วที่สุด

 

8. การปรับตัวที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่ง คือ ความใฝ่รู้

 

ความใฝ่รู้ คือ สร้างให้ท้องถิ่นเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ เปิดเวทีให้ชาวบ้านได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนกันไม่ใช่ผู้นำสั่งการให้ทำตามสั่งอย่างเดียว ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ ของท้องถิ่นก็ต้องมีความใฝ่รู้ด้วย และต้องมีเจ้าหน้าที่ดูแลกิจกรรมที่เกี่ยวกับ “อาเซียนเป็นพิเศษ อย่างเช่นรู้เขา รู้เรา ติดการสถานการณ์ เหตุการณ์ ที่เกี่ยวเข้องกับอาเซียน

 

9. การพัฒนาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์หรือทุนมนุษย์

 

ในการอยู่รอดและแข่งขันได้ในวันนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การพัฒนาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์หรือทุนมนุษย์ของข้าราชการท้องถิ่น รวมทั้งประชาชน เกษตรกร และธุรกิจในระดับชุมชน หรือ หลายๆ คนอาจเรียกว่า รากหญ้า ผมขอเสนอแนวคิดการพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์ 8K’s และ 5 K’s ของผม ซึ่งจะเป็นแนวทางที่ช่วยให้ผู้นำท้องถิ่นอยู่รอด และก้าวไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน

 

10.ต้องบริหารความเสี่ยงให้เป็น โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 

10.1.เดินสายกลาง มีความพอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันที่ดี มีคุณธรรม มีความรู้

 

10.2.รู้จริง อยู่กับความจริง อยู่ภายใต้ความสามารถที่จะจัดการได้ เช่นมีวรรณเกษตร สามารถจัดการเอง และเก็บกินเองได้

 

สรุป..แนวคิดทั้ง10 ประเด็นที่นำเสนอ จะเป็นบันไดขั้นแรกที่เราจะสามารถเดินไปข้างหน้าด้วยกัน  ถ้าผู้นำสนใจถึงจะเป็นหนทางที่ขรุขระ มีอุปสรรคมาก ผู้นำท้องถิ่นจะต้อง มีสติปัญญา และหวังดี ถ้ามีแรงบันดาลใจ ร่วมมือกันทำงานใกล้ชิดกับประชาชนแล้วคงจะช่วยกันพัฒนาท้องถิ่นของเราให้ก้าวไปสู่การค้าเสรีอาเซียน หรือประชาคมอาเซี่ยน (AEC) ได้อย่างแน่นอนและมีความเข้มแข็ง..โดยจะมีรัฐบาล อย่างเช่น กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ร่วมกันขับเคลื่อนเพื่อเตรียมความพร้อมทุกด้านอย่างยั่งยืน

 

โครงการ DELGOSEA

 

การเตรียมความพร้อมของท้องถิ่น เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AEC) นั้นมีโครงการหลายโครงการที่มีความสัมพันธ์ เรื่องของการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน นั่นก็คือ โครงการความร่วมมือเพื่อส่งเสริมธรรมาภิบาลในการจัดการเมือง สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Partnership for Democratic Local Governance in Southeast-Asia) หรือเรียกย่อๆว่า โครงการ DELGOSEA ซึ่งสนับสนุนโดยคณะกรรมการสหภาพยุโรป (EU) เป็นโครงการที่สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาธรรมาภิบาลสมาคมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นองค์กรภาคประชาสังคมและสถาบันการศึกษาของ 5 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และไทย โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรของสมาคมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ความรู้ความสามารถในการจัดการเมืองยึดหลักธรรมาภิบาล รวมทั้งการส่งเสริมการถอดแบบตัวอย่างที่ดีไปสู่การปฏิบัติจริง และสนับสนุนการสร้างเครือข่ายเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้มีความเข้มแข็งสามารถพัฒนาสู่ความน่าอยู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริงได้

 

โครงการนี้มีระยะเวลาดำเนินงานทั้งสิ้น 30 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม 2553 โดยจะสิ้นสุดในเดือนสิงหา2555 ซึ่งระยะเวลาดำเนินโครงการกว่า 1 ปี ที่ผ่านนั้นได้ดำเนินการคัดเลือกโครงการต่างๆ จำนวน 16 กรณี ในกรอบ 4 ประเด็นหลัก ได้แก่

 

1) การมีการมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางแผนและตัดสิ้นใจ

 

2) การบริหารภายในองค์กรอย่างภิบาล

 

3) การจัดบริการสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม

 

4) การจัดการเงินการลังและการลงทุนเพื่อกระตุ้น เศรษฐกิจ จากการเมือง 5 ประเทศเป้าหมาย เพื่อนำมาเป็น ตัวอย่างที่ดี(Best Practices)” ให้เทศบาลนำร่อง (Pilot Cities) ได้นำไปถอดแบบสู่การปฏิบัติจริงและเป็นที่น่าภาคภูมิใจว่ามีถึง 5 เทศบาลของประเทศไทยที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นตัวอย่างที่ดีได้แก่ เทศบาลนครขอนแกน เทศบาลตำบลปริก เทศบาลนครอุดรธานี เทศบาลตำบลเมืองแกลง และเทศบาลนครภูเก็ต รวมทั้งหมดมี 4 เทศบาลที่อาสามาเป็นเทศบาลนำร่องเพื่อเรียนรู้และถอดแบบตัวอย่างที่ดีมาสู่ปฏิบัติ ได้แก่ เทศบาลนครปากเกร็ด เทศบาลนครสงขลา เทศบาลนครยะลา และเทศบาลนครเชียงราย

 

ในโอกาสที่สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทยได้รวมเป็นภาคีหลักในการดำเนินงานโครงการนี้ โดยมีสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยเป็นหน่อยงานประสานงานโครงการของประเทศไทย ได้เล็งเห็นว่า 16 ตัวอย่างที่ดีจากเมืองต่างๆของทั้ง 5 ประเทศจะเป็นประโยชน์แก่พี่น้องเทศบาลต่างๆได้บ้างไม่มากก็น้อย

 

1.การกระจายอำนาจเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาเมือง ของเทศบาลนครขอนแก่น ประเทศไทย

 

2.การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปรับปรุงย่านที่อยู่อาศัยเก่าแก่ ของเมืองวินห์ ประเทศเวียดนาม

 

3.ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ-ราษฎร์-เอกชน ในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ของเมืองToul Sangker Sangkat ประเทศกัมพูชา

 

4.การปรับปรุงประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชนโดยใช้ E-Government ของเมืองย๊อกยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

 

5.โครงการบูรณาการร่วมมือในการพัฒนาระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายเมือง Kartamantul ประเทศอินโดนีเซีย

 

6.ธรรมาภิบาลในการจัดการสุขภาวะระดับชุมชน ของเทศบาลตำบลปริก ประเทศไทย

 

7.การวางแผนพัฒนาเมืองแบบมีส่วนร่วม จังหวัด Guimaras ประเทศฟิลิปปินส์

 

8.นวัตกรรมการปฏิรูประบบการบริหารกิจการสาธารณะ เมืองลังซอน ประเทศเวียดนาม

 

9.การเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนแบบหน้าต่างเดียวเบ็ดเสร็จ เมืองพระตะบอง ประเทศกัมพูชา

 

10.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์ เทศบาลนครอุดรธานี ประเทศไทย

 

11.เมืองคาร์บอนต่ำ เทศบาลตำบลเมืองแกลง ประเทศไทย

 

12.โครงการออมทรัพย์ช่วยโลก เมืองมาริกิน่า ประเทศฟิลิปปินส์

 

13.สภาความร่วมมือในการจัดการภัยพิบัติเมือง เมืองอะลองกาโป ประเทศฟิลิปปินส์

 

14.โครงการโยกย้ายและสร้างศักยภาพแก่กลุ่มผู้ค้าริมถนน เมืองโซโล ประเทศอินโดนีเซีย

 

15.การอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและฟื้นฟูวัฒนธรรมเมืองเก่าภูเก็ตเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจเมือง เทศบาลนครภูเก็ต ประเทศไทย

 

16.โครงการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อการจัดการชายฝั่งแบบยั่งยืน เทศบาลทุบิกอน ประเทศฟิลิปปินส์

 

ทั้ง 16 ตัวอย่างเมืองที่ดีที่เป็นแบบอย่างแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการค้นหาตัวเองเพื่อการพัฒนาสู่ประชชาคมอาเซียน จะเห็นว่าโครงการนี้มีการแลกเปลี่ยน องค์ความรู้ ระบบ แบบแผน ซึ่งกันและกัน ในการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีความก้าวหน้า การอนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิม รวมสภาพเศรษฐกิจ ของท้องถิ่นต้องมีการเรียนรู้ให้เกิดความเข้าใจสำหรับผู้นำท้องถิ่นต่อไป

 

 



แชร์หน้านี้: